หน้าแรก > จอเทอร์มินัลพกพา > โซลูชัน >

ออกแบบโดยตระหนักถึงผู้ใช้;
เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาพัฒนาขึ้นเพื่อ "ใช้งาน" ตามวัตถุประสงค์

เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพา DT-X7 Series เป็นผลิตภัณฑ์ล่าสุดจาก CASIO ซึ่งรวมวิธีการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้ ("HCD") การวิเคราะห์ "การใช้งาน" ตามวัตถุประสงค์ CASIO ทำให้มีอุปกรณ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง

เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาเป็นอุปกรณ์ข้อมูลที่สำคัญที่ช่วยให้ผู้ให้บริการงานโลจิสติกส์ ค้าปลีกและภาคสนาม สามารถเชื่อมต่อสินค้าและระบบงานในสถานที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น จอเทอร์มินัลแบ่งออกเป็นสามชนิด ได้แก่ "ชนิดมีตัวจับยึด" ที่มาพร้อมกับเครื่องสแกนบาร์โค้ดในตัวสำหรับใช้ในโลจิสติกส์และค้าปลีก "ชนิด PDA" สำหรับงานป้อนข้อมูลและผลลัพธ์ และ "ชนิดเครื่องพิมพ์" สำหรับใช้ออกใบสั่งและบัตรจอดรถ ตั๋วรถไฟบนรถไฟและมิเตอร์อ่านค่าสาธารณูปโภค อย่างไรก็ตาม เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาเน้นการใช้งานในธุรกิจ ทำให้มีการพัฒนาด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข เช่น ฟังก์ชัน ขนาดและต้นทุน


เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพา DT-X7 Series

ขณะที่มีการปรับปรุงรูปทรงและตำแหน่งปุ่มใหม่เพื่อให้ใช้งานง่ายขึ้น แต่ยังขาดวิธีการประเมินการออกแบบตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ส่งผลให้ผู้ผลิตหลายรายล้มเหลวในการปรับใช้วิธีการที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนา "อุปกรณ์สำหรับผู้บริโภค"

อย่างไรก็ตาม อันที่จริง ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในคลังสินค้าและพนักงานค้าปลีกในร้านค้า คือผู้ใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาอย่างแท้จริง และความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานอย่างมาก

CASIO ได้รวมการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้เข้าในการพัฒนาเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาแบบมีตัวยึดจับ ขณะเดียวกันก็ประเมิน "ความสามารถในการใช้งาน" ตามวัตถุประสงค์ และ "การป้องกันการเมื่อยล้า" ตลอดกระบวนการออกแบบ
DT-X7 เปิดตัวในตลาดต่างประเทศในเดือนตุลาคม และเป็นสุดยอดอุปกรณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามเหล่านี้

ครั้งแรกที่เห็น DT-X7 มีลักษณะคล้ายกับโทรศัพท์มือถือแบบมัลติฟังก์ชัน อันที่จริง มีหลายคุณสมบัติจากโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุด รวมถึงการวางตำแหน่งและการให้รหัสสีปุ่มและขอบตกแต่งที่ทำจากเรซินรอบหน้าจอ อย่างไรก็ดี CASIO กล่าวว่าลักษณะที่คล้ายกับโทรศัพท์มือถือทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากกระบวนการออกแบบ

โคอิชิ ซาโตะ จากศูนย์ออกแบบ แผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ สำนักงานใหญ่ เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้ นอกจากนี้ เรายังได้พูดคุยกับโมโตยูกิ มัทซุย ผู้จัดการแผนกวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ และโทโมยูกิ นิเฮอิ จากแผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สำนักงานใหญ่แผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาชิโอจิ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนและออกแบบ DT-X7

นักออกแบบและแผนกการตลาดมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นการพัฒนา

------ ผมได้ยินว่า DT-X7 ปรับใช้วิธีการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้ในทุกแง่มุมการออกแบบ อะไรคือแรงจูงใจเบื้องหลังวิธีการนี้


โทโมยูกิ นิเฮอิ สำนักงานใหญ่ แผนกพัฒนาผลิตภัณฑ์ฮาชิโอจิ

นิเฮอิ: โครงการนี้เริ่มต้นครั้งแรกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ปี 2006
ก่อนหน้านี้ เราดำเนินการวิจัยเชิงลึกในการกระจายสินค้าและตลาดเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพารายย่อย และพบว่าผู้ใช้จำนวนมากเน้นความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานจริง ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจสำหรับเรา เนื่องจากเราคิดว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับฟังก์ชัน ซึ่งเตือนให้เราทราบว่าผู้ใช้ต้องการคุณภาพในแง่ของความสามารถในการใช้งานพื้นฐานในตลาด ซึ่งทำให้ปิดช่องว่างฟังก์ชันการใช้งานระหว่างผู้ผลิต นั่นคือเหตุผลที่ทำให้เราเน้นการพัฒนาความสามารถในการใช้งานจริงอย่างครอบคลุม

มัทซุย: ลำดับการพัฒนามีความแตกต่างกันด้วย โดยทั่วไป แผนกวางแผนจะศึกษาข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค จากนั้นนักออกแบบจะใช้แผนนี้ในการกำหนดรูปแบบ แต่เรามุ่งเน้นให้นักออกแบบและพนักงานขายมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนเริ่มแรก และโดยเฉพาะรวมความคิดเห็นขอผู้ใช้จริงเข้าในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

------ ดังนั้นลำดับการพัฒนาจึงคล้ายกับ "spiral model (โมเดลวนรอบ)" แทนที่จะเป็น "waterfall model (โมเดลจากบนลงล่าง)"

นิเฮอิ: รูปแบบการพัฒนาเริ่มต้นอย่างเป็นธรรมชาติ อันเป็นผลมาจากการรวมกระบวนการการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้เข้าในระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งน่าจะเป็นครั้งแรกที่ CASIO ได้ทำโครงการพัฒนาที่ผนวกรวมกระบวนการเช่นนี้


มีการจัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ในขั้นแรกจนถึงการพัฒนาขั้นสุดท้าย

มัทซุย: เรายังได้สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์มากมายตามความเห็นของผู้ใช้ และประเมินตามคุณสมบัติทางกายภาพเพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม ตลอดลำดับงานนี้ เราค่อยๆ สร้างอุปกรณ์โดยเปลี่ยนจากรูปแบบไปสู่ความสามารถในการใช้งาน

ซาโตะ: ก่อนอื่น เราได้สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินห้าแบบร่วมกับส่วนต่างๆ ที่รับผิดชอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนความคิดเห็นของผู้ใช้งานจริง เราได้สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์สองชิ้นเป็นเวอร์ชันที่ปรับปรุงใหม่ตามการประเมินของผู้ใช้ การออกแบบที่ได้เป็นผลมาจากการประเมินเพิ่มเติมจนได้เป็นรูปทรงมาตรฐานของ DT-X7

การประเมินวิธีการจับยึดสองลักษณะตามค่าตัวเลข

------ การประเมิน "ความสามารถในการใช้งาน" เป็นเรื่องยาก ไม่เหมือนกับข้อมูลจำเพาะทางเทคนิคที่พิมพ์บนแคตตาล็อกที่สามารถกำหนดค่าตัวเลขได้ คุณใช้วิธีการใด

นิเฮอิ: ก่อนอื่น เราคิดหลักเกณฑ์สี่ข้อ: "น้ำหนักเบา" "ถือง่าย" "ใช้สแกนได้ง่าย" และ "ทำงานง่าย" อันที่จริง ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่มีมือเล็ก เราจึงคิดว่าอุปกรณ์ต้องมีน้ำหนักเบาและมีขนาดกะทัดรัดพอดีกับมือของผู้หญิง

คำว่า "ความสามารถในการใช้งาน" เป็นคำที่ใช้บ่อย แต่เป็นแนวคิดที่ไม่สามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้ ซึ่งทำให้หาวิธีสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้ง่ายได้ยาก โดยรวมกระบวนการการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้ การวิเคราะห์ปัจจัยที่สร้างความสามารถในการใช้งานและการวิเคราะห์และทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของผู้ใช้และสภาพแวดล้อมการใช้งาน เราได้สร้าง "เกณฑ์ความสามารถในการใช้งาน" ที่รวมเข้ากับผลิตภัณฑ์


โคอิชิ ซาโตะจากศูนย์ออกแบบ

ซาโตะ: ในแง่ของการออกแบบ เราออกแบบโดยตระหนักถึง "ความคุ้มค่า" (ในแง่จิตวิทยา ความคุ้มค่าเป็นคำเชื่อมระหว่างคำกริยา "afford" หมายถึง "จัดหา" และคำต่อท้าย "ance" และหมายถึง แนวคิดการตระหนักถึงวัตถุและความสัมพันธ์ของการมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุนั้นของบุคคล) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์ได้ง่ายโดยไม่ต้องคาดเดาการทำงาน

นอกจากนี้เรายังได้ทำการทดสอบเป็นจำนวนมาก เราประเมินความสามารถในการใช้งานตามวัตถุประสงค์กับรองศาสตราจารย์นากาโอจาก Chiba Institute of Technology ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทดลองใช้งานอุปกรณ์โดยผู้ใช้ หลังจากติดตั้งเครื่องบันทึกแบบ Eye-mark เพื่อตรวจสอบการเคลื่อนที่ของดวงตาและการบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ("EMG") เพื่อวัดความตึงของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้เรายังได้ใช้วิธีการเปรียบเทียบการประเมินเชิงความชอบของผู้ใช้ก่อนและหลังการใช้อุปกรณ์ จากการคำนวณผลการทดสอบเหล่านี้เป็นค่าสถิติตัวเลข ทำให้เราสามารถทำการประเมินตามวัตถุประสงค์ได้

มัทซุย: เราใช้เวลาประมาณหกเดือนในการตัดสินใจเกี่ยวกับรูปทรงของผลิตภัณฑ์ และได้ทำซ้ำการประเมินนี้จนกระทั่งขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราทำการทดสอบซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ใช้งานได้ง่ายจริงๆ

นิเฮอิ: เช่น มีวิธีการยึดเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาแบบมีตัวจับยึดสองแบบ มันอาจช่วยให้คุณจินตนาการถึงร้านสะดวกซื้อหรือซุเปอร์มาร์เก็ต

เมื่อต้องเติมสต็อคสินค้าบนชั้นวางสินค้า ผู้ใช้จะสแกนบาร์โค้ดที่ปรากฏบนป้ายราคาบนชั้นวางสินค้าและป้อนค่าโดยใช้ปุ่มตัวเลข ในกรณีนี้ ผู้ใช้จะถือจอเทอร์มินัลในมือ และกดปุ่มตัวเลขด้วยนิ้วโป้ง เครื่องสแกนจะทำงานเมื่อกดปุ่มสั่งงานตรงกลางใต้หน้าจอ

ในทางตรงกันข้าม เมื่อผู้ใช้ตรวจสอบสินค้าที่เข้ามา ผู้ใช้จะถือสินค้าในมือข้างหนึ่งและถือจอเทอร์มินัลด้วยมืออีกข้างหนึ่ง เพื่อสแกนบาร์โค้ดเพื่อตรวจสอบว่าจำนวนสินค้าที่เข้ามาตรงกับจำนวนที่แสดงหรือไม่ ในกรณีนี้ ผู้ใช้จะหยิบจอเทอร์มินัลจากด้านบน ขณะที่จอเทอร์มินัลจะอยู่ในตำแหน่งตั้งตรงโดยหน้าจออยู่ด้านบน เพื่อให้เครื่องสแกนทำงานโดยกดปุ่มสั่งงานด้านใดด้านหนึ่ง

ไม่ว่าจะถือจอเทอร์มินัลด้วยวิธีใด เราได้จัดวางปุ่มสั่งงานสแกนไว้หลายตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อให้ "ถือง่าย" และ "ใช้งานได้ง่าย"

นวัตกรรมการออกแบบและฟังก์ชันที่น่าประทับใจช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้งานจริง

------ คุณกล่าวว่าคุณได้ทำการประเมินซ้ำจนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบในขั้นสุดท้าย ลักษณะการประเมินใดที่ช่วยให้ทราบว่าเป็นการเพิ่มความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ และมีวิธีการอย่างไร


ตัวเครื่องออกแบบให้มีประสิทธิภาพการสแกนสูงสุด

มัทซุย: เช่น ปลายจอเทอร์มินัลจะมีลักษณะเป็นมุมชี้ลงเมื่อดูจากด้านข้าง มุมที่เอียงลงนี้จะตรงกับทิศทางของลำแสงเลเซอร์ที่ปล่อยจากเครื่องสแกน

ซาโตะ: จากข้อมูลเครื่องบันทึกเครื่องหมายแบบ Eye-mark ช่วยลดการใช้สายตาของผู้ใช้ลงได้อย่างมาก เครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาก่อนหน้านี้ทำให้ผู้ใช้ต้องใช้สายตาตามการมองเห็นของผู้ใช้ตามลำแสง (ลำแสงเลเซอร์ที่ทำการสแกน) รอบป้ายราคา ข้อมูลระบุการเพิ่มขึ้นของจำนวนครั้งที่ลำแสงสามารถโฟกัสไปที่บาร์โค้ดในครั้งแรกได้อย่างถูกต้อง เมื่อกดปุ่มสั่งงานสแกนโดยไม่พลาดการยิงลำแสงไปที่ด้านบนหรือด้านล่างของบาร์โค้ด และลดจำนวนข้อผิดพลาดลงได้อีกด้วย


โมโตยูกิ มัทซุย ผู้จัดการแผนกวิศวกรรมผลิตภัณฑ์

มัทซุย: จอเทอร์มินัลมีขอบโค้งยกขึ้นที่ด้านหลังเพื่อให้จับถือได้ง่าย และมีร่องสำหรับวางนิ้วของผู้ใช้เมื่อศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงของจอเทอร์มินัลถูกปรับให้พอดีในคุณสมบัตินี้ นอกจากนี้ ปุ่มตรงกลางยังอยู่ในตำแหน่งที่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของนิ้วอย่างเป็นธรรมชาติ และปุ่มที่ใช้บ่อยถูกจัดวางในแนวเดียวกับภายในช่วงนิ้วที่กดปุ่มได้ง่าย

ซาโตะ: การออกแบบนี้ช่วยลดความถี่ที่ผู้ใช้ต้องวางและถือจอเทอร์มินัลใหม่เมื่อรู้สึกเมื่อยมือหรือนิ้ว ซึ่งทำให้ลดการเมื่อยล้า

มัทซุย: แม้ว่าจะต้องถือจอเทอร์มินัลอีก ร่องที่ด้านหลังให้ผู้ใช้วางนิ้วลงได้พอดีและช่วยให้ถือได้อย่างสบายมือ

ซาโตะ: จากการประเมินความชอบของผู้ใช้ ทำให้มีการปรับปรุงหลายส่วนหลังการใช้งาน ทำให้เราสามารถคาดคะเนความสามารถในการใช้งานของผู้ใช้ได้ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบการประเมินความชอบของผู้ใช้กับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง เรามั่นใจว่า DT-X7 จะได้รับความนิยมอย่างสูงโดยรวม

นิเฮอิ: การติดตั้งจอเทอร์มินัลพร้อมคำแนะนำด้วยเสียงเป็นอีกหนึ่งลักษณะของการพัฒนาความสามารถในการใช้งานจริง ฟังก์ชันนี้ช่วยลดความจำเป็นในการมองหน้าจอซ้ำแล้วซ้ำอีกขณะตรวจสอบสินค้า เพื่อลดการใช้สายตาของผู้ใช้ จอ LCD สี QVGA Transflective ขนาด 2.4 นิ้ว มีประสิทธิภาพสูงเนื่องจากเพิ่มความคมชัดของหน้าจอและช่วยให้อ่านง่าย และแสดงผลคำแนะนำในการทำงานซึ่งตรงกับสีของปุ่มฟังก์ชัน F1 ถึง F4 บนแป้นพิมพ์ นี่คือเหตุผลที่ว่าเหตุใดจอเทอร์มินัลจึงมีปุ่มที่มีสีสัน

นอกจากนี้เรายังเน้นการใช้งานง่ายโดยการติดตั้งเครื่องมือที่เกี่ยวข้องให้มากับจอเทอร์มินัล เช่น เครื่องมือสนับสนุน เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันและเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมการสื่อสารแบบไร้สาย

การให้ความสำคัญกับการออกแบบโดยไม่กระทบต่อฟังก์ชันการใช้งาน

------ DT-X7 เป็นอุปกรณ์สนับสนุนการทำธุรกิจ ดังนั้น จึงถูกต้องใช่หรือไม่ที่ผมจะคาดว่าการออกแบบจะไม่ส่งผลกระทบต่อฟังก์ชันการใช้งาน

นิเฮอิ: แน่นอน จอเทอร์มินัลติดตั้งฟังก์ชันทั้งหมดที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบันให้มาอย่างครบถ้วน นอกจากฟังก์ชันการสื่อสาร เช่น WLAN, Bluetooth, USB และ IrDA แล้ว จอเทอร์มินัลยังมีจอ LCD สีและแบตเตอรี่สองก้อน (เป็นอุปกรณ์เสริม) ความจุมาตรฐานและความจุสูง และมาพร้อมกับคุณสมบัติทั้งหมดอย่างครบครัน


คุณสมบัติการจับยึดมีขอบที่ยกขึ้นเพื่อให้จับได้ง่ายขึ้น

มัทซุย: ขอบที่ยกขึ้นที่ด้านหลังของจอเทอร์มินัลใช้งานได้ดี และดูเหมือนใหญ่ในครั้งแรกที่เห็น แต่อันที่จริงเหมาะพอดีกับรูปทรงที่จับถือได้ง่ายและศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงที่สมดุล
ทำให้เมื่อถอดฝาปิดแบตเตอรี่ออกแทบจะไม่เห็นขอบยกสูงเลย ส่วนของอุปกรณ์ที่ติดตั้งอุปกรณ์อื่นๆ มีลักษณะบางและน้ำหนักเบา ซึ่งหมายความว่าต้องใช้ซับสเตรทเล็กมากซึ่งทำให้นักออกแบบประสบปัญหามาก

------งานจำนวนมากดูเหมือนว่าหายไปในการติดตั้งส่วนประกอบ

มัทซุย: จอเทอร์มินัลแบบพกพาของเราโดยทั่วไปติดตั้งมากับคาปาซิเตอร์บนซับสเตรท เพื่อทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟสำรองในกรณีที่จอเทอร์มินัลตกหล่นและแบตเตอรี่หลุดออก หรือหน้าสัมผัสแบตเตอรี่หลวม แต่ต้องใช้ส่วนประกอบขนาดใหญ่หลายส่วน เช่น คอยล์ ที่ขัดขวางการผลิตอุปกรณ์ให้มีขนาดเล็ก

ดังนั้น เราจึงสร้างจอเทอร์มินัลความต้านทานต่ำใหม่ซึ่งเลียนแบบการเคลื่อนที่ของแบตเตอรี่เพื่อลดโอกาสที่หน้าสัมผัสแบตเตอรี่จะหลวม ที่ด้านหนึ่งของช่องใส่แบตเตอรี่ยังมีส่วนยื่นเพื่อป้องกันแบตเตอรี่ไม่ให้หลุดออกเมื่อตกกระแทก นวัตกรรมนี้ช่วยลดความจำเป็นในการใช้แหล่งจ่ายไฟสำรองในรูปของคาปาซิเตอร์

นอกจากนี้เรายังนำชิ้นส่วนขนาดเล็กพิเศษมาปรับใช้แทน เช่นเดียวกับในโทรศัพท์มือถือเพื่อให้อุปกรณ์มีตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กลง เช่น ขนาดตัวต้านทานชิปคือ 0603 (หรือ 0.6 มม. x 0.3 มม.) การใช้ชิ้นส่วนขนาดเล็กพิเศษ เช่น ตัวต้านทานชิป ทำให้สามารถสร้างจอเทอร์มินัลที่มีน้ำหนักเบาและมีขนาดกะทัดรัดมากขึ้น

------ วิธีการซ่อมแซมแผงวงจรถูกเปลี่ยนจากสกรูเป็นการออกแบบแบบหนีบจับ

มัทซุย: เราต้องการประหยัดพื้นที่ที่ถูกใช้ไปกับสกรูขนาดใหญ่และหนัก เมื่อนำวิธีการแบบหนีบจับมาใช้ เราได้สร้างโครงสร้างลอยตัวเพื่อลดความเสียหายต่อแผงวงจร ด้วยตัวเครื่องที่มีลักษณะโค้งเว้าและเลือกวัสดุใหม่ซ้ำ เราได้จัดการลดความหนาของตัวเครื่องและเพิ่มความแข็งแรงทนทาน

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผู้ใช้ "ต้องการใช้งาน" หรือ "ต้องการใช้งานต่อ"

------ การออกแบบ DT-X7 มีความใกล้เคียงกับโทรศัพท์มือถืออย่างมาก ถูกต้องหรือไม่ที่กล่าวว่าวัฒนธรรมโทรศัพท์มือถือมีอิทธิพลต่อการออกแบบ

นิเฮอิ: ความคล่องตัวในแง่ของความสามารถในการใช้งาน คือ สิ่งที่แบ่งปันกันแม้ในผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ตั้งใจออกแบบจอเทอร์มินัลให้เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ แต่การพัฒนาความสามารถในการใช้งานแสดงให้เห็นถึงสิ่งนี้โดยบังเอิญ

ซาโตะ: เหตุผลหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ เราตระหนักและใส่ใจกับผู้ใช้ที่เป็นผู้หญิง ผู้หญิงจำนวนมากเคยชินกับการส่งเมล์จากโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นเราคิดว่าความพยายามที่จะสร้างจอเทอร์มินัลที่ใช้งานได้ง่ายสำหรับผู้หญิงเพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย จะนำไปสู่รูปทรงที่คล้ายกับโทรศัพท์มือถือ

------ นอกจากนี้ จอเทอร์มินัลยังมีคุณสมบัติที่เกินกว่าการใช้งาน เช่น การใช้ชิ้นส่วนโปร่งใสที่ขอบหน้าจอ


การให้รหัสสีและการออกแบบที่ปรับใหม่อื่นๆ รวมถึงการวางผังแป้นพิมพ์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโทรศัพท์มือถือมากกว่าเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพา ทำให้ผู้ใช้ประทับใจตั้งแต่แรกเห็น

นิเฮอิ: พนักงานขายของ CASIO มีส่วนร่วมในการพัฒนา DT-X7 ดังนั้นมุมมองของผู้ใช้จึงได้รับการพิจาณาตั้งแต่แนวคิดผลิตภัณฑ์ ซึ่งทำให้เราตระหนักถึงความสำคัญของความประทับใจแรกในกลุ่มผู้ใช้ และการทำให้ผู้ใช้พึงพอใจ ซึ่งสะท้อนผ่านการออกแบบที่ปรับปรุงใหม่ของจอเทอร์มินัล และความรู้สึกโดยรวมถึงคุณภาพที่ดีนอกเหนือจากความสามารถในการใช้งานจริง

ซาโตะ: นอกจากนี้ เรายังพิจารณาถึงรูปลักษณ์ภายนอกที่พนักงานร้านที่เป็นผู้หญิงต้องการเห็นและต้องการใช้งานทันที นอกจากนี้ เรายังพิจารณาข้อเท็จจริงที่ว่าในกรณีของร้านค้าปลีก ลูกค้าของร้านจะเห็นจอเทอร์มินัลด้วย ซึ่งเราเรียกว่า "ผู้ใช้ขั้นที่สาม" ถ้าร้านค้าเลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดชนิดพกพาโดยพิจารณาถึงมุมมองของลูกค้าที่มีต่อร้านค้า เราก็ต้องใส่ใจและคำนึงถึงรูปลักษณ์ภายนอกของจอเทอร์มินัลด้วย

------ จอเทอร์มินัลได้รับการรีลีสแล้ว หลังจากเริ่มทำตลาด คุณได้รับการตอบกลับจากลูกค้าอย่างไร

นิเฮอิ: แผนกการตลาดของเรารายงานว่า มีการสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ลูกค้าประทับใจตั้งแต่แรกเห็น และเราได้ยินว่าพนักงานขายของเรารู้สึกมั่นใจที่จะทำตลาดผลิตภัณฑ์นี้

------ ทุกคนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารู้สึกมั่นใจกับการผลิตผลิตภัณฑ์นี้หรือไม่

มัทซุย: ในอดีต ผมมีความรู้สึกโล่งใจมากเมื่อเสร็จสิ้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แต่ในเวลานี้ผมรู้สึกพึงพอใจอย่างมากที่ได้สร้างผลิตภัณฑ์ที่เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ผมคิดว่านี่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราสามารถทำตลาดได้อย่างมั่นใจ ผมคิดว่าผมคงรู้สึกปลื้มใจถ้าผมได้เห็นว่ามีการนำจอเทอร์มินัลนี้ไปใช้งานในคลังสินค้าหรือในร้านค้า

ซาโตะ: โครงการนี้เป็นความท้าทายครั้งสำคัญของศูนย์การออกแบบ นี่เป็นครั้งแรกที่ CASIO ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่รวมกระบวนการออกแบบที่เน้นการใช้งานโดยผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มจนจบ ประสบการณ์ครั้งนี้จะถูกนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในส่วนอื่นๆ ในอนาคต

ความท้าทายถัดไปของเราคือ วิธีการรวบรวมการตอบกลับจากผู้ใช้ DT-X7 ในผลิตภัณฑ์ใหม่ของเรา

ด้านบนสุดของเพจ